สำนักงานศึกษาธิการภาค 13
การประชุมเชิงปฏิบัติการศึกษาสภาพและองค์ประกอบของการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางการพัฒนาคุณลักษณะผู้เรียนตามพระบรมราโชบายด้านการศึกษา ในหลวงรัชกาลที่ 10 ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในพื้นที่รับผิดชอบสำนักงานศึกษาธิการภาค 13
วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2564 นายไพศาล วุทฒิลานนท์ รองศึกษาธิการภาค 13 รักษาการในตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ ให้เกียรติเป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการศึกษาสภาพและองค์ประกอบของการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางการพัฒนาคุณลักษณะผู้เรียนตามพระบรมราโชบายด้านการศึกษา ในหลวงรัชกาลที่ 10 ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในพื้นที่รับผิดชอบสำนักงานศึกษาธิการภาค 13 ณ สตาร์เวลล์ บาหลี รีสอร์ท จังหวัดนครราชสีมา
ศธภ.13 ร่วมลงพื้นที่ขับเคลื่อนการบูรณาการด้านการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ
ระหว่างวันที่ 28 มกราคม - 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2564 นายไพศาล วุทฒิลานนท์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ (รก.) พร้อมด้วยนายกฤตพล ชุติกุลกีรติ ศึกษาธิการจังหวัดนครราชสีมา และ ดร.นงลักษณ์ ชัยชูมินทร์ ผอ.กลุ่มตรวจราชการและติดตามประเมินผล พร้อมคณะติดตาม ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมโรงเรียนคุณภาพของชุมชนในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา รวม 11 แห่ง ตามนโยบายจัดทำแผนการบูรณาการด้านการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ
ประเมินผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ณ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดบุรีรัมย์
เมื่อวันพุธที่ 9 ธันวาคม พ.ศ.2563 เวลา 08.30 น. นายไพศาล วุทฒิลานนท์ รองศึกษาธิการภาค 13 รักษาการในตำแหน่งศึกษาธิการภาค 13 ได้มอบหมายให้ ดร.นงลักษณ์ ชัยชูมินทร์ ผู้อำนวยการกลุ่มตรวจราชการและติดตามประเมินผลเป็นประธานนำคณะกรรมการประเมินผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563 ลงประเมินผลฯ ณ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดบุรีรัมย์ โดยมี นายสมศักดิ์ ชอบทำดี ศึกษาธิการจังหวัดบุรีรัมย์และคณะ ให้การต้อนรับและนำเสนอผลการดำเนินงานฯพร้อมทั้งแนวทางการพัฒนาเพื่อให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นต่อไป
ประเมินผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ณ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสุรินทร์
วันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ.2563 เวลา 08.30 น. นายไพศาล วุทฒิลานนท์ รองศึกษาธิการภาค 13 รักษาการในตำแหน่งศึกษาธิการภาค 13 ได้มอบหมายให้ ดร. ดร.นงลักษณ์ ชัยชูมินทร์ ผู้อำนวยการกลุ่มตรวจราชการและติดตามประเมินผล เป็นประธานนำคณะกรรมการประเมินผล การปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563 ลงประเมินผลฯ ณ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสุรินทร์ โดยมี นางวิมลมาลย์ รินไธสง ศึกษาธิการจังหวัดสุรินทร์และคณะ ให้การต้อนรับและนำเสนอผลการดำเนินงานฯพร้อมทั้งแนวทางการพัฒนาเพื่อให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นต่อไป
ประเมินผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ณ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครราชสีมา
วันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ.2563 เวลา 08.30 นายไพศาล วุทฒิลานนท์ รองศึกษาธิการภาค 13 รักษาการในตำแหน่งศึกษาธิการภาค 13 ได้นำคณะกรรมการประเมินผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563 ลงประเมินผลฯ ณ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครราชสีมา โดยมีนายกฤตพล ชุติกุลกีรติ ศึกษาธิการจังหวัดนครราชสีมาและคณะทีมงาน ให้การต้อนรับและนำเสนอผลการดำเนินงานฯพร้อมทั้งแนวทางการพัฒนาเพื่อให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นต่อไป
ประเมินผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ณ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดชัยภูมิ
วันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ.2563 เวลา 08.30 น. นายไพศาล วุทฒิลานนท์ รองศึกษาธิการภาค 13 รักษาการในตำแหน่งศึกษาธิการภาค 13 ได้มอบหมายให้ ดร. ดร.นงลักษณ์ ชัยชูมินทร์ ผู้อำนวยการกลุ่มตรวจราชการและติดตามประเมินผล เป็นประธานนำคณะกรรมการประเมินผล การปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563 ลงประเมินผลฯ ณ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดชัยภูมิ โดยมีนายสมาน เวียงปฏิ รองศึกษาธิการจังหวัดชัยภูมิและคณะ ให้การต้อนรับอย่างดียิ่ง
นโยบายและจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการ ปีงบประมาณ พ.ศ.2564 (เพิ่มเติม)
ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง นโยบายและจุดเน้น ของกระทรวงศึกษาธิการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ประกาศ ณ วันที่ 27 ธันวาคม 2562 นั้นเนื่องจากในห้วงสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) รัฐบาลจึงได้กำหนดมาตรการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ซึ่งทำให้สังคมไทยต้องปรับเปลี่ยนชีวิตให้เข้ากับวิถีชีวิตใหม่ หรือ New Normal จึงมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินการให้มีความปลอดภัยทั้งต่อตัวผู้เรียน ข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษาให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ดังนั้น นโยบาย “การศึกษายกกำลังสอง (Thailand Education Eco – System : TE2S) เป็นการศึกษาที่เข้าใจ Supply และตอบโจทย์ Demand” ดังกล่าว